top of page
เครื่องดื่มสมุนไพรพลูคาว ขนาด 750 ml.

ส่วนประกอบ น้ำพลูคาว 100%
ขนาดบรรจุ 750 มล.
รับประทานวันละ 30-60 มล. ทานเป็นประจำได้ทุกวัน
อ.ย.เลขที่ 17-2-03447-2-0005
ผลิตโดย รักษ์สมุนไพรสิงห์บุรี 49/9 ม.6 ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี


สั่งซื้อสินค้าได้ทาง SHOPEE <<< ราคาพิเศษ >>>
สั่งซื้อสินค้าได้ทาง LAZADA <<< ราคาพิเศษ >>>

เครื่องดื่มสมุนไพรพลูคาว ขนาด 750 ml.

฿450.00ราคา
  • พลูคาวเป็นผักพื้นบ้าน ใต้ใบจะมีสีแดงอ่อนจนถึงสีแดงเข้ม ชาวบ้านในเขตภาคเหนือจะเรียกว่าผักคาวตอง เนื่องจากต้นและใบจะมีกลิ่นแรง ส่วนภาคกลางจะเรียกว่าผักพลูคาว ซึ่งนิยมนำใบมาเป็นผักเคียงใช้บริโภคสดกับอาหารประเภทลาบ  มีการศึกษาทางด้านเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับผักพลูคาวและมีรายงานการวิจัย ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของผักพลูคาวว่า

     

    1. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบต่างๆ (Anti-Inflamnation) ยับยั้งเอนไซม์(Cyclooxygenase) เป็นบ่อเกิดของการอักเสบ  หรือโรคที่มีอาการอักเสบ  จากการทดลองส่วนสกัดด้วยน้ำของผักคาวตองมีฤทธิ์ต้านอักเสบโดยไปยับยั้งการซึมผ่านเส้นเลือดฝอยของของเหลว

     

    2. มีฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็ง (Cytotoxicity Against Tunor Cellines) มีรายงานการวิจัยว่า aristolactam B, piperolactam A, aristolactam A, norcepharadione B, cepharadione B, splendidin ซึ่งเป็นสารอัลคาลอยด์ที่แยกได้จากส่วนเหนือดินของผักคาวตองแสดงฤทธิ์ปานกลางในหลอดทดลองในการทำลายเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยง มี เซลล์มะเร็งปอด เซลล์มะเร็งรังไข่ เซลล์เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย  เซลล์มะเร็งสมอง  มะเร็งลำไส้  มีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งแต่ละชนิดอย่างมีนัยสำคัญ ในประเทศจีนมีการใช้ผักพลูคาวเป็นส่วนประกอบในตำหรับยาผงสำหรับรับประทานใช้ในการรักษามะเร็งทางเดินอาหารและมะเร็งทางเดินหายใจ มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในตำรับยาจีนกล่าวว่าพลูคาวมีสรรพคุณในการจำกัดความร้อนและสารพิษ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด เพิ่มภูมิต้านทาน และรักษาอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้รังสีรักษาและเคมีบำบัด

     

    3. เสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย คณะวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการศึกษาวิจัยฤทธิ์ของผักพลูคาวต่อเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของคนในหลอดทดลอง พบว่าสามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ ไม่ว่าจะเป็นสรรพคุณรักษาภาวะภูมิแพ้ ภูมิไวเกิน เช่น หอบหืด สรรพคุณรักษาภูมิคุ้มกันบกพร่อง  โดยเป็นส่วนผสมหนึ่งในตัวยารักษาผู้ป่วยโรคเอดส์และผู้ป่วยโรคมะเร็ง


         ผักพลูคาวกับการวิจัยด้านเสริมภูมิคุ้มกันคณะวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการศึกษาวิจัยฤทธิ์ของผักพลูคาวต่อเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของคนในหลอดทดลอง พบว่าสามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ ไม่ว่าจะเป็นสรรพคุณรักษาภาวะภูมิแพ้ ภูมิไวเกิน เช่น หอบหืด สรรพคุณรักษาภูมิคุ้มกันบกพร่อง  โดยเป็นส่วนผสมหนึ่งในตัวยารักษาผู้ป่วยโรคเอดส์และผู้ป่วยโรคมะเร็ง

     

    การใช้ประโยชน์ของต้นพลูคาวในต่างประเทศ

         ประเทศต่างๆในเอเชียเป็นถิ่นกระจายพันธุ์พืชนี้ มีการใช้ประโยชน์มานานแล้ว ทั้งเป็นอาหารและเป็นยา สำหรับยุโรปและอเมริกานั้นนิยมปลูกพันธุ์ใบด่างเป็นไม้ประดับด้วย

         ภูมิภาคอินโดจีน ใช้ทั้งต้นบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ แก้อาการอักเสบ 
    แก้ลมพิษ ใบ ใช้แก้บิด นอกจากใช้เป็นผักแล้วยังใช้ต้มกับปลาหรือไข่เป็ดช่วยดับกลิ่นคาว

         จีน ใช้ใบหรือทั้งต้น ขับปัสสาวะ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ และ บิด ต้านเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะในระบบทางเดินหายใจ

         ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และอินเดีย ใช้ทั้งต้นเป็นยาลดไข้ ขจัดสารพิษ(detoxicant) รักษาแผลในกระเพาะ และอาการอักเสบ รวมทั้งรักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย

         ในประเทศเกาหลียังใช้ผักคาวตองในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง arterosclerosis และมะเร็ง 

         เนปาล ใช้ลำต้นใต้ดิน ในตำรับยาที่เกี่ยวกับโรคสตรี ใช้ทั้งต้นเป็นยาช่วยย่อย บรรเทาอาการอักเสบ และขับระดู ใบใช้ในยารักษาโรคผิงหนัง แก้บิดและริดสีดวงทวาร

         อินเดีย ใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นผัก

         สำหรับประเทศไทย มีการใช้ประโยชน์ผักคาวตองในยาแผนโบราณ และยาพื้นบ้านพื้นเมืองมานานแล้ว โดยใช้ใบเป็นยาแก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้ง แก้โรคผิวหนัง แก้พิษฝี ต้นแก้ริดสีดวง ชาวเขาพวกม้ง ใช้ผักคาวตองเป็นยารักษาไข้มาลาเรีย อย่างไรก็ตามมีบันทึกตำรับยาแผนโบราณที่มีพืชนี้ ภายใต้ชื่อคาวตองหรือพลูแกเป็นส่วนประกอบอยู่หลายขนาน เช่น ตำรับยาแก้น้ำมูกพิการ ยาแก้ขัดเบา ยาแก้ไข้ ยาชื่อมหาระงับพิษ ยาแก้พิษหละจับหัวใจ ยาแก้ลมปะกัง เป็นต้น

             ผักพลูคาวนับเป็นตัวอย่างผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตมนุษย์นอกจากใช้เป็นอาหารแล้วยังสามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นยาที่ใช้รักษาและป้องกันโรคติดเชื้อได้รวมทั้งช่วยเสริมสุขภาพแก่ร่างกายด้วย

    ข้อมูลอ้างอิงจาก : สมุนไพรน่ารู้ ผักคาวตอง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

bottom of page